วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อนุสรณ์ทางรถไฟสายแรกของไทย

รถไฟสายแรกของประเทศไทย
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านผมได้ไปเก็บภาพ อนุสรณ์ของทางรถไฟสายแรกของไทย ที่ตลาดปากน้ำ จ. สมุทรปราการ
จึงเกิดความสนใจ และอยากบอกกล่าวเพื่อนๆนะครับโดยเพื่อนๆของกระผมส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัด สมุทรปราการ เคยทราบกันไหมครับ ว่าเมืองปากน้ำ สมุทรปราการนี้ เป็นเมืองที่มีการสร้างรถไฟสายแรกของประเทศไทยจาก (กรุงเทพ) หัวลำโพง ถึง (สมุทรปราการ) ปากน้ำ นี่แหละครับ ฉะนั้นขอขอคัดลอก
ข้อความจากป้ายอนุสรณ์ และบทความบางส่วนจาก
http://otakuv2.exteen.com/20091119/entry

รถไฟสายปากน้ำ
เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีชาวต่างประเทศได้เข้ามาขออนุญาต สร้างทางรถไฟ สายปากน้ำ โดยเริ่มต้น ที่บริเวณหน้าสถานีหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร ไปสิ้นสุดที่ปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ จนได้รับพระราชอนุญาตทางพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็น ประโยชน์จึงอนุญาตก่อสร้างทางรถไฟสายปากน้ำ

ทางรถไฟสายนี้ถือว่าเป็นทางรถไฟสายแรกในเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นโดยเอกชน ในรูปแบบของบริษัทมีชื่อว่า "กอมปานีรถไฟ" หรือ "บริษัทรถไฟปากน้ำ" โดยมีการทำสัญญาการสร้างรถไฟสายปากน้ำที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2429 มีผู้ทำสัญญาการสร้างรถไฟสายปากน้ำได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ตำแหน่งเสนาบดีผู้ว่าการต่างประเทศ เป็นผู้แทนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในสัญญารถไฟปากน้ำเรียกว่าผู้ให้อนุญาต และแอลเฟรด ยอนลอบเตอด เยฟอานีเอช ประวัติเดิมอาศัยอยู่ที่เมืองกาลิงตัน อาณานิคมของประเทศอังกฤษ (ปัจจุบันคือ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย)และเข้ามาทำงานที่กรุงเทพมหานครเป็นช่างทำแผนที่ทะเลของพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเป็นสัปเยก (สัปเยกต์หรือสัปเยก คือคำที่คนสยามใช้เรียกคนในบังคับของต่างชาติ) อังกฤษกับ แอนดริยาดูเปลลิสเดริชลู ชาวเดนมาร์ก มีอาชีพเป็นกับตันเรือพระที่นั่งเวสาตรี

เส้นทางรถไฟในอดีต...ที่ถูกลืม

เส้นทางรถไฟสายกรุงเทพ (หัวลำโพง)- ปากน้ำ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสร็จพระราชดำเนินทรงเปิดทางรถไฟสายนี้เมื่อ 11 เมษายน พ.ศ. 2436

เส้นทางเริ่มต้นจากสถานีหัวลำโพงเข้าถนนพระรามที่ 4 จนถึงพื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ผ่านถนนเกษมราษฎร์ข้างห้างสรรพสินค้าโลตัสสาขาพระราม 4 ถัดมาเลียบทางพิเศษเฉลิมมหานครและคลองพระโขนง ตัดกับถนนกล้วยน้ำไทอันเป็นทางเข้าท่าเรือคลองเตย ต่อมาจึงลอดใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร จากนั้นข้ามคลองพระโขนงเข้าสู่แขวงพระโขนง และเข้าพื้นที่แขวงบางจาก เขตพระโขนง บริเวณใกล้กับทางแยกถนนอาจณรงค์ซึ่งเป็นถนนเลียบทางรถไฟที่สร้างขึ้นเพื่อขน ส่งปิโตรเคมีของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ต่อมาเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาและข้ามคลองบางอ้ออันเป็นโรงงานปิโตรเคมีของ บริษัท ปตท. และบริษัทบางจาก เข้าพื้นที่แขวงบางนา เขตบางนา ตัดกับถนนสรรพาวุธ

ต่อมาผ่านฐานทัพกองทัพเรือจึงเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการและเป็นจุดเริ่มต้น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3109 โดยถนนสายนี้ทำหน้าที่แบ่งเขตระหว่างเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ กับเทศบาลตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง ต่อมาผ่านถนนสุขุมวิท 78 อันเป็นทางเข้าห้างสรรพสินค้าอิมพิเรียลเวิลด์ สำโรง และโรงพยาบาลสำโรง ผ่านถนนปู่เจ้าสมิงพราย ต่อมาลอดใต้ทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ และเข้าถนนสุขุมวิทจนถึงปากน้ำ ถนนหน้าทางเข้าท่าเรือข้ามฟากไปฝั่งพระสมุทรเจดีย์ รวมระยะทางทั้งสิ้น 21.3 กิโลเมตร

การเกิดชื่อถนนทางรถไฟสายเก่าอาจเรียกตั้งแต่การยกเลิกทางรถไฟสายนี้ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 ในรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และรื้อทางรถไฟสร้างเป็นถนนพระราม 4 และถนนทางรถไฟสายเก่า จุดเริ่มต้นถนนทางรถไฟสายเก่าเริ่มตั้งแต่พื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ผ่านถนนเกษมราษฎร์ข้างห้างสรรพสินค้าโลตัสสาขาพระราม 4 จนถึงเข้าถนนสุขุมวิท เหตุผลของการยกเลิกรถไฟสายปากน้ำอาจมาจากรถไฟมีสภาพทรุดโทรมเนื่องจากประสบ ปัญหาการดำเนินงาน ประกอบกับรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ต้องการสร้างและขยายถนนบริเวณถนนพระรามที่ 4 และอาจเกิดผลกระทบจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2504-2509 เพราะจุดประสงค์หลักคือการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการดำรง ชีวิต ได้แก่ ไฟฟ้า, ประปา และ ถนนให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท โดยมิได้ให้ความสำคัญรถไฟเท่าใดนัก
รายชื่อสถานีปากน้ำทั้ง ๑๒ สถานีซึ่งได้แก่:
01 หัวลำโพง (ตรงข้ามหัวลำโพงใหญ่ที่สร้างโดยนายช่างเยอร์มัน)
02 ศาลาแดง (ใกล้แยกศาลาแดง - โรงแรมดุสิตธานี)
03 คลองเตย (ใกล้แยกบ่อนไก่)
04 บ้านกล้วย (ใกล้โลตัสพระราม ๔)
05 พระโขนง (ใกล้คลองพระโขนง)
06 บางจาก (ใกล้โรงกลั่นบางจาก)
07 บางนา (ใกล้แยกสรรพาวุธบางนา ของทหารเรือ)
08 สำโรง (ใกล้คลองสำโรง)
09 จระเข้ (ใกล้คลองศีรษะจระเข้)
10 บางนางเกร็ง (แถววัดบางนางเกร็ง ใกล้โรงเรียนนายเรือซึ่งแต่ก่อนเป็นโรงเรียนจ่าทหารเรือ)
11 มหาวงศ์ (ใกล้คลองมหาวงศ์)
12 ปากน้ำ (ตลาดปากน้ำเก่า ตอนนี้เป็นศูนย์ประมงปากน้ำ)
คัดลอกบทความมาจาก http://www.yantip.com/board/viewthread.php?tid=7791

เหตุผลของการยกเลิกรถไฟสายปากน้ำอาจมาจากรถไฟมีสภาพทรุดโทรมเนื่องจากประสบ ปัญหาการดำเนินงาน ประกอบกับรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ต้องการสร้างและขยายถนนบริเวณถนนพระรามที่ 4 และอาจเกิดผลกระทบจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2504-2509 เพราะจุดประสงค์หลักคือการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการดำรง ชีวิต ได้แก่ ไฟฟ้า, ประปา และ ถนนให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท โดยมิได้ให้ความสำคัญรถไฟเท่าใดนัก

และในปัจจุบัน 2554 ก็กำลังจะมีโครงการรถไฟฟ้า เดินทางเข้ามาที่ จ.สมุทรปราการ ( ปากน้ำ)
ตอนนี้ก็ขอนั่ง BTS (ถึงแม้จะสุดสายที่แบริ่งก็ตาม) ไปพลางๆก่อนละกันครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น