วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อนุสรณ์ทางรถไฟสายแรกของไทย

รถไฟสายแรกของประเทศไทย
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านผมได้ไปเก็บภาพ อนุสรณ์ของทางรถไฟสายแรกของไทย ที่ตลาดปากน้ำ จ. สมุทรปราการ
จึงเกิดความสนใจ และอยากบอกกล่าวเพื่อนๆนะครับโดยเพื่อนๆของกระผมส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัด สมุทรปราการ เคยทราบกันไหมครับ ว่าเมืองปากน้ำ สมุทรปราการนี้ เป็นเมืองที่มีการสร้างรถไฟสายแรกของประเทศไทยจาก (กรุงเทพ) หัวลำโพง ถึง (สมุทรปราการ) ปากน้ำ นี่แหละครับ ฉะนั้นขอขอคัดลอก
ข้อความจากป้ายอนุสรณ์ และบทความบางส่วนจาก
http://otakuv2.exteen.com/20091119/entry

รถไฟสายปากน้ำ
เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีชาวต่างประเทศได้เข้ามาขออนุญาต สร้างทางรถไฟ สายปากน้ำ โดยเริ่มต้น ที่บริเวณหน้าสถานีหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร ไปสิ้นสุดที่ปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ จนได้รับพระราชอนุญาตทางพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็น ประโยชน์จึงอนุญาตก่อสร้างทางรถไฟสายปากน้ำ

ทางรถไฟสายนี้ถือว่าเป็นทางรถไฟสายแรกในเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นโดยเอกชน ในรูปแบบของบริษัทมีชื่อว่า "กอมปานีรถไฟ" หรือ "บริษัทรถไฟปากน้ำ" โดยมีการทำสัญญาการสร้างรถไฟสายปากน้ำที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2429 มีผู้ทำสัญญาการสร้างรถไฟสายปากน้ำได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ตำแหน่งเสนาบดีผู้ว่าการต่างประเทศ เป็นผู้แทนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในสัญญารถไฟปากน้ำเรียกว่าผู้ให้อนุญาต และแอลเฟรด ยอนลอบเตอด เยฟอานีเอช ประวัติเดิมอาศัยอยู่ที่เมืองกาลิงตัน อาณานิคมของประเทศอังกฤษ (ปัจจุบันคือ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย)และเข้ามาทำงานที่กรุงเทพมหานครเป็นช่างทำแผนที่ทะเลของพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเป็นสัปเยก (สัปเยกต์หรือสัปเยก คือคำที่คนสยามใช้เรียกคนในบังคับของต่างชาติ) อังกฤษกับ แอนดริยาดูเปลลิสเดริชลู ชาวเดนมาร์ก มีอาชีพเป็นกับตันเรือพระที่นั่งเวสาตรี

เส้นทางรถไฟในอดีต...ที่ถูกลืม

เส้นทางรถไฟสายกรุงเทพ (หัวลำโพง)- ปากน้ำ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสร็จพระราชดำเนินทรงเปิดทางรถไฟสายนี้เมื่อ 11 เมษายน พ.ศ. 2436

เส้นทางเริ่มต้นจากสถานีหัวลำโพงเข้าถนนพระรามที่ 4 จนถึงพื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ผ่านถนนเกษมราษฎร์ข้างห้างสรรพสินค้าโลตัสสาขาพระราม 4 ถัดมาเลียบทางพิเศษเฉลิมมหานครและคลองพระโขนง ตัดกับถนนกล้วยน้ำไทอันเป็นทางเข้าท่าเรือคลองเตย ต่อมาจึงลอดใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร จากนั้นข้ามคลองพระโขนงเข้าสู่แขวงพระโขนง และเข้าพื้นที่แขวงบางจาก เขตพระโขนง บริเวณใกล้กับทางแยกถนนอาจณรงค์ซึ่งเป็นถนนเลียบทางรถไฟที่สร้างขึ้นเพื่อขน ส่งปิโตรเคมีของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ต่อมาเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาและข้ามคลองบางอ้ออันเป็นโรงงานปิโตรเคมีของ บริษัท ปตท. และบริษัทบางจาก เข้าพื้นที่แขวงบางนา เขตบางนา ตัดกับถนนสรรพาวุธ

ต่อมาผ่านฐานทัพกองทัพเรือจึงเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการและเป็นจุดเริ่มต้น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3109 โดยถนนสายนี้ทำหน้าที่แบ่งเขตระหว่างเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ กับเทศบาลตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง ต่อมาผ่านถนนสุขุมวิท 78 อันเป็นทางเข้าห้างสรรพสินค้าอิมพิเรียลเวิลด์ สำโรง และโรงพยาบาลสำโรง ผ่านถนนปู่เจ้าสมิงพราย ต่อมาลอดใต้ทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ และเข้าถนนสุขุมวิทจนถึงปากน้ำ ถนนหน้าทางเข้าท่าเรือข้ามฟากไปฝั่งพระสมุทรเจดีย์ รวมระยะทางทั้งสิ้น 21.3 กิโลเมตร

การเกิดชื่อถนนทางรถไฟสายเก่าอาจเรียกตั้งแต่การยกเลิกทางรถไฟสายนี้ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 ในรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และรื้อทางรถไฟสร้างเป็นถนนพระราม 4 และถนนทางรถไฟสายเก่า จุดเริ่มต้นถนนทางรถไฟสายเก่าเริ่มตั้งแต่พื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ผ่านถนนเกษมราษฎร์ข้างห้างสรรพสินค้าโลตัสสาขาพระราม 4 จนถึงเข้าถนนสุขุมวิท เหตุผลของการยกเลิกรถไฟสายปากน้ำอาจมาจากรถไฟมีสภาพทรุดโทรมเนื่องจากประสบ ปัญหาการดำเนินงาน ประกอบกับรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ต้องการสร้างและขยายถนนบริเวณถนนพระรามที่ 4 และอาจเกิดผลกระทบจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2504-2509 เพราะจุดประสงค์หลักคือการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการดำรง ชีวิต ได้แก่ ไฟฟ้า, ประปา และ ถนนให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท โดยมิได้ให้ความสำคัญรถไฟเท่าใดนัก
รายชื่อสถานีปากน้ำทั้ง ๑๒ สถานีซึ่งได้แก่:
01 หัวลำโพง (ตรงข้ามหัวลำโพงใหญ่ที่สร้างโดยนายช่างเยอร์มัน)
02 ศาลาแดง (ใกล้แยกศาลาแดง - โรงแรมดุสิตธานี)
03 คลองเตย (ใกล้แยกบ่อนไก่)
04 บ้านกล้วย (ใกล้โลตัสพระราม ๔)
05 พระโขนง (ใกล้คลองพระโขนง)
06 บางจาก (ใกล้โรงกลั่นบางจาก)
07 บางนา (ใกล้แยกสรรพาวุธบางนา ของทหารเรือ)
08 สำโรง (ใกล้คลองสำโรง)
09 จระเข้ (ใกล้คลองศีรษะจระเข้)
10 บางนางเกร็ง (แถววัดบางนางเกร็ง ใกล้โรงเรียนนายเรือซึ่งแต่ก่อนเป็นโรงเรียนจ่าทหารเรือ)
11 มหาวงศ์ (ใกล้คลองมหาวงศ์)
12 ปากน้ำ (ตลาดปากน้ำเก่า ตอนนี้เป็นศูนย์ประมงปากน้ำ)
คัดลอกบทความมาจาก http://www.yantip.com/board/viewthread.php?tid=7791

เหตุผลของการยกเลิกรถไฟสายปากน้ำอาจมาจากรถไฟมีสภาพทรุดโทรมเนื่องจากประสบ ปัญหาการดำเนินงาน ประกอบกับรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ต้องการสร้างและขยายถนนบริเวณถนนพระรามที่ 4 และอาจเกิดผลกระทบจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2504-2509 เพราะจุดประสงค์หลักคือการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการดำรง ชีวิต ได้แก่ ไฟฟ้า, ประปา และ ถนนให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท โดยมิได้ให้ความสำคัญรถไฟเท่าใดนัก

และในปัจจุบัน 2554 ก็กำลังจะมีโครงการรถไฟฟ้า เดินทางเข้ามาที่ จ.สมุทรปราการ ( ปากน้ำ)
ตอนนี้ก็ขอนั่ง BTS (ถึงแม้จะสุดสายที่แบริ่งก็ตาม) ไปพลางๆก่อนละกันครับ

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Testing BTS บ้านผมมีรถไฟฟ้าแล้วนะ



เมื่อวันแม่ 12 สิงหาคม 2554 ขอแวะไปทดลองใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร
สายสุขุมวิท ช่วงส่วนต่อขยาย อ่อนนุช ถึง แบริ่ง นับได้ว่ารู้สึกแปลกๆ
เพราะเราได้มองวิวทิวทัศน์ที่คุ้นเคย แต่ในมุมที่
เปลี่ยนไป ไม่แค่สี่แยกบางนา อุดมสุข กรุงเทพช่างกล ฯลฯ ทำให้ความรู้สึก
มันออกตื่นเต้นเล็กน้อย


รีวิวเต็มๆ เชิญที่นี่นะครับ
http://www.thaitransport-photo.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6821#151441